ขนมไทยภาคกลาง-ภาคใต้

ขนมไทยภาคกลาง

            ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวตัง
ข้าวตังหน้าตั้ง
ส่วนผสมข้าวตังหน้าตั้ง

ข้าวตัง     1/2 กก.
น้ำมันสำหรับทอด
ส่วนผสมน้ำจิ้มเนื้อหมูสับละเอียด    1 ถ้วย
กุ้งสับละเอียด    1 ถ้วย
กระเทียมซอย    1/2 ถ้วย
หอมแดงซอย     1/2 ถ้วย
กะทิ      2 ถ้วย
น้ำปลา    2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขาม      1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ       2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันน้ำพริกเผา   1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำข้าวตังหน้าตั้ง
1. นำข้าวตัง ทอดกับน้ำมันจนสุกกรอบ พักให้สะเด็ดน้ำมัน
2. นำกะทิตั้งไฟพอเดือดแล้วเคี่ยวให้แตกมันเล็กน้อย แล้วใส่เนื้อสัตว์ ผัดพอสุก
3. ใส่ส่วนผสมอื่นๆ ลงตามปรุงรส รสชาติจะออกเปรี้ยว หวาน เค็ม
4. จากนั้นจึงแต่งหน้าด้วยน้ำมันพริกเผาเล็กน้อย ทอดข้าวตังให้สุกเหลืองกรอบ เสิร์ฟคู่กัน
ขั้นตอนและวิธีการทำทองหยิบ



ความหมายทองหยิบ

   เป็น ขนมมงคล ชนิดหนึ่ง มี ลักษณะ งดงามคล้าย ดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและ ความพิถีพิถัน เป็นอย่างมาก ใน การ ประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ชื่อ ขนมทองหยิบ เป็นชื่อ สิริมงคล เชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบ พิธีมงคล ต่างๆ หรือให้เป็น ของขวัญ แก่ใครแล้ว จะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับ การงาน สิ่งใดก็จะ ร่ำรวย มีเงินมีทอง สมดังชื่อ "ทองหยิบ"
ส่วนผสมของขนมทองหยิบ
ไข่เป็ด                      ๑๐      ฟอง
น้ำตาลทราย                  ๑       กิโลกรัม
น้ำลอยดอกมะลิ                ๕       ถ้วยตวง
วิธีทำ

    ๑. ผสมน้ำ น้ำตาลทราย ตั้งไปให้เดือด พอเหนียว ตักน้ำเชื่อมขึ้นใส่ถาดไว้พอประมาณ ส่วนที่เปลือตั้งไฟต่อไป    ๒. แยกไข่แดง ไข่ขาว    ๓. ตีไข่แดงให้ขึ้น ไข่จะเปลี่ยนเป็นสีนวล    ๔. ตักไข่ที่ตีได้ที่แล้วหยอดลงในน้ำเชื่อมที่ตั้งอยู่บนไฟอ่อนให้เป็นวงกลมพอสุกกลับอีกด้านหนึ่งลง
    
๕. ตักแผ่นทองหยิบขึ้นวางในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง นิ้วชี้ ของมือซ้าย หยิบไข่ ตามด้วย นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้ ของมือขวา หยิบขึ้นใส่ในถ้วยตะไล
ขั้นตอนและวิธีการทำลูชุบ
ส่วนผสมเนื้อลูกชุบ

1. ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
3. หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง
4. สีผสมอาหารสีต่างๆ
ส่วนผสมของลูกชุบ

1. วุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ

1. นำถั่วเขียวที่กะเทาะเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาดและแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
2. นำถั่วเขียวที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว ไปนึ่งจนสุก
3. นำมะพร้าวที่แก่จัดมาขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวขาวอย่างเดียว
4. คั้นมะพร้าว ด้วยน้ำต้มสุกใส่แต่ทีละน้อย เพื่อให้ได้น้ำกะทิที่ข้นมันตามปริมาณที่ต้องการ
5. นำกะทิที่ได้มาผสมกับถั่วที่นึ่งจนสุกและขดจนได้เนื้อถั่วที่เนียนละเอียด
6. นำถั่วที่มีเนื้อละเอียดดีแล้วมาใส่ลงกระทะทองพร้อมทั้งน้ำตาลทรายขาว
7. กวนด้วยไฟอ่อน ๆ จนเนื้อถั่วข้นเหนียว ล่อนไม่ติดกระทะ
8. ยกถั่วลงปล่อยไว้ให้เย็นแล้วจึงนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
9. แบ่งถั่วเป็นก้อนขนาดเท่ากับลูกชุบที่ต้องการปั้น
10. นำไปอบควันเทียนมีกลิ่นหอมจรุงทุกเม็ด ก่อนจะนำมาปั้นแต่งจนกลายเป็นผลไม้ชนิดต่าง ๆ
11. นำลูกชุบที่ปั้นเสร็จแล้วมาชุบวุ้น 2-3 ครั้ง โดยการชุบแต่ละครั้งต้องรอให้วุ้นแห้งก่อนแล้วจึงชุบทับ

วิธีการอบควันเทียน

1. นำถั่วที่กวนได้ที่พักไว้ให้เย็น ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกจะทำให้กลิ่นเหม็นของ พลาสติกปนในถั่วกวน
2. วางถ้วยกระเบื้องเล็กไว้ตรงกลางถั่วกวน
3. จุดเทียนอบทั้ง 2 ข้าง ให้เปลวไฟติดดีแล้วดับให้เกิดควัน
4. วางเทียนบนถ้วยกระเบื้อง ปิดฝาให้สนิทพักไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
5. กลับถั่วด้านบนลงข้างล่าง แล้วจุดเทียนอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้อาจจะพักไว้ค้างคืนเลยก็ได้

ขนมไทยภาคใต้

ขนมไทยภาคใต้
      ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้นตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่
  • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
  • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
  • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
  • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
  • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
  • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
  • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
  • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
  • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
  • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน

ขั้นตอนและวิธีการทำขนมหน้าไข่


ส่วนผสมหลัก ๆ 

            
ก็มี… ไข่ไก่, น้ำตาลทราย, แป้งสาลี, นมสด, น้ำสะอาด, น้ำมันพืชหรือเนยขาว, ลูกเกด ซึ่งหากยึดที่การใช้แป้งสาลี 1 กิโลกรัม จะต้องใช้น้ำตาลทราย 1.2 กิโล กรัม, ไข่ไก่ 20 ฟอง, นมสด 1 กระป๋อง, น้ำสะอาด, น้ำมันพืชหรือเนยขาว และลูกเกด ซึ่ง 3 อย่างหลังก็ใช้พอเหมาะพอสม
 
ขั้นตอนการทำ “ขนมไข่”

            
เริ่มจากนำแป้งสาลีมาร่อน 3 ครั้ง แล้วพักไว้ เพื่อให้แป้งเบาตัว จากนั้นหันไปนำไข่ไก่มาตอกใส่อ่างผสม ตีไข่ ให้ขึ้นฟู แล้วเติมน้ำตาลทรายทีละน้อยจนหมด ตีต่อไปจนส่วนผสมมี ลักษณะที่เรียกว่าตั้งยอดอ่อน ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาทำนานประมาณ 1 ชั่วโมง
แต่ตรงนี้มี “เคล็ดลับ” คือ…การตีไข่กับส่วนผสมนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ “เครื่องตีเค้ก” เพราะจะเร็วขึ้น ตีแล้วส่วนผสมจะขึ้นดี และทำให้ “ขนมไข่” นุ่มกว่าการตีด้วยมืออีกด้วย
ลำดับต่อไป นำแป้งสาลีที่เตรียมไว้มาค่อย ๆ ตะล่อมใส่ผสมลงไปในอ่างผสมที่มีส่วนผสมของไข่กับน้ำตาลอยู่ ใส่แป้งสลับกับนมสดจนหมด แล้วเคล้าเบา ๆ ให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี ตั้งพักไว้
ล้างพิมพ์ขนมไข่ (มีหลายแบบ) ให้สะอาด เช็ดด้วยน้ำมันพืชให้ทั่ว นำไปผิงไฟ โดยใช้เตาถ่านซึ่งคุแดง เกลี่ยพอประมาณ และวางถ่านด้านบนของฝาพิมพ์ด้วย โดยเมื่อเตาร้อนดีแล้ว ใช้ลูกประคบเล็ก ๆ ชุบน้ำมันหรือเนยขาวเช็ดให้ทั่วบริเวณหลุมหรือเบ้าสำหรับหยอดแป้งขนมใน พิมพ์ ก่อนจะหยอดแป้ง หยิบลูกเกด 2-3 เม็ดใส่ลงไปก่อน แล้วจึงใช้ช้อนตักแป้งหยอดเต็มเบ้าพิมพ์


ขั้นตอนนี้ต้องระวังการใช้ไฟ เพราะขนมอาจไหม้ได้ !!

                
ถ้าใช้ไฟกำลังดี ใช้เวลากำลังดี ก็จะได้ขนมไข่ที่สุกกำลังดี โดยให้คอยสังเกตว่าขนมสุกเหลืองดีแล้วก็ใช้ไม้แหลมจิ้มขนมไข่ หรือใช้ส้อมแซะขนมไข่ออกจากเบ้าพิมพ์ ซึ่งขนมไข่ที่ดีมีคุณภาพนั้น ต้องมีสีเหลืองน่ารับประทาน มีกลิ่นหอม มีความกรอบนอกนุ่มใน และอร่อยกำลังดี
ทั้งนี้ ที่ว่ามาก็เป็นสูตร-วิธีทำ “ขนมไข่” โดยสังเขป ใครที่พอมีพื้นฐานทางการทำขนมอยู่บ้างก็คงจะเข้าใจ ส่วนใครที่ต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้ ใน “รวมเล่มช่องทางทำกิน เล่ม 6” ซึ่งรวบรวมอาชีพไว้ 50 อาชีพ ทั้งอาหาร ขนม แปรรูป งานประดิษฐ์ ก็จะมีข้อมูลอาชีพการทำการขายขนมไข่ด้วยครับ !!.
ขั้นตอนและการทำขนมก้านบัว

ส่วนผสมตัวแป้ง

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1/2 กิโลกรัม
น้ำมันพืช 2 ช้อนโตะ
น้ำ 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 1/2 ช้อนชา
ไข่ไก่ 1 ฟอง
แอมโมเนีย 2 ช้อนชา
โซดา 2 ชอนชา

ส่วนผสมน้ำตาลสำหรับเคลือบ

น้ำตาลทราย 1 1/4 ถ้วย
น้ำ 1/2 ถ้วย
เกลือ 1 ช้อนชา
แบะแซ 20 กรัม
ขิงแก่สับละเอียด 75 กรัม ( 1/3 ถ้วย)
 
 วิธีทำ

1.ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ทำเป็นบ่อตรงกลาง
2.ผสมน้ำ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย เกลือ ไข่ไก่ แอมโมเนีย โซดา คนให้เข้ากัน
3.เทส่วนผสมข้อ 2 ลงในอ่างแป้ง นวดให้เข้ากัน พักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
4.แบ่งแป้งมาคลึงให้มีความหนาประมาณ 1/4 เชนติเมตร ตัดแป้งเป็นชิ้นยาว3-4 เนติเมตร ทำเช่นนี้จนหมดแป้ง
5.นำแป้งที่ตัดแล้วไปทอดในน้ำมัน จนแป้งมีสีเหลืองกรอบ ตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมัน


วิธีทำน้ำตาลเคลือบ ผสมน้ำ น้ำตาลทราย เกลือ แบะแซ ขิงแก่ ลงในกระทะ นำไปตั้งไฟเคี่ยว จนเหนียวข้น ใส่แป้งที่ทอดแล้วลงคลุกให้เข้ากัน จนน้ำตาลแห้ง จับทั่วตัวแป้ง(ตอนน้ำตาลใกล้จะแห้ง ให้หรี่ไฟลงอ่อนๆ )
ขั้นตอนและวิธีการทำขนมกอแหละ


 
เครื่องปรุงและวิธีทำ

            นำข้าวเหนียว ๑ ลิตร ล้างน้ำให้สะอาดประมาณ ๒ ครั้ง แล้วแช่ข้าวเหนียวไว้ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้ไปโม่ เทแป้งข้าวเหนียวที่โม่เสร็จแล้วลงในกะทะทองเหลือง ใส่น้ำตาลทรายประมาณ ๑-๑.๕ กิโลกรัม ยกกระทะตั้งบนเตาไฟ ใช้ไม้พายกวนแป้งกับน้ำตาลไปเรื่อยๆ จนแห้งและเหนียว ยกเทใส่ถาดกระจายให้แป้งเต็มถาด วางไว้ให้เย็น เคี่ยวน้ำกะทิข้นๆ ประมาณ ๑ ถ้วย จนกะทิเป็นน้ำมัน และมีขี้มันเป็นสีแดงเข้ม ตักใส่ถ้วยไว้ ใช้มีดตัดขนมเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่ากับขนมเปียกปูน แล้วตักน้ำมันและขี้มันราดลงเป็นขนมแต่ละชิ้น เสร็จแล้วนำไปรับประทานได้
ขนมกอและห์ เป็นขนมหวานที่มีรสหวาน เหนียวนุ่มอร่อย มักนิยมทำรับประทานกันในบ้านหรือทำเลี้ยงในงานกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน นอกจากนั้นยังทำขายอยู่ทั่วไปในตลาดยะลา

  ประโยชน์ ๑. เป็นอาหารหวานใช้รับประทานได้
๒. เป็นอาหารที่ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท
๓. ในสังคมพื้นบ้านนิยมกวนขนมกอและห์แจกจ่าย แลกเปลี่ยนกันเป็นการสื่อความสัมพันธ์ในชุมชน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น